• Bhutan,  Life in Bhutan,  Travel in Bhutan

    Trip to Bumthang

    เนื่องจากได้รับเชิญไปช่วยงานวันชาติไทยที่จะจัดขึ้นที่เมืองหลวงทิมพูในวันที่ ๑๘ พ.ย. ที่จะถึงนี้ เราจึงต้องเดินทางที่ไม่ค่อยปลื้มสักเท่าไรไปทิมพู แม้ว่าระยะทางจะประมาณ ๕๕๐ กม. แต่ต้องใช้เวลาบนรถบัสถึง ๒ วันเต็ม ช่วงนี้เป็นช่วงเข้าฤดูหนาว การเดินทางจึงยากลำบากขึ้นทั้งสภาพอากาศ ถนนที่ลื่นหรือมีดินถล่ม เราออกเดินทางจากที่พักตอนตี ๕ เพื่อไปขึ้นรถที่ทราชิกัง อากาศตอนเช้าหนาวมากทีเดียว สภาพรถที่เดินทางจัดว่าดีแต่คนที่เดินทางไปด้วยนั้นขนหอบของสารพัดชนิดที่ไม่มีพื้นที่ว่างที่จะเดินกันเลยทีเดียว แถวเก้าอี้เสริมก็ถูกจองจนเต็ม สภาพไม่ต่างจากประกระป๋องหมดอายุสักเท่าไร เริ่มออกเดินทางคนขับรถของเราก็ขากเสรดตลอดเวลา ข้างหลังมีคุณยายก็เมารถอ้วก ขากเสรดไปตลอดอีกเช่นกัน สร้างความรื่นเริงบันเทิงใจอย่างมาก รถแวะที่หมู่บ้าน Yadi เพื่อกินข้าวเช้าก่อนวิ่งยาวจนถึงบ่าย ๒ จึงแวะกินข้าว ระหว่างทางเมื่อผ่านช่องเขา Trumshing La ก็พบว่ามีหิมะตกแล้วเมื่อไม่นานมานี้ รถเราเลยต้องวิ่งช้าลงมากเพราะอันตรายจากน้ำแข็งบนพื้น ระหว่างทางมีบางช่วงมีใบไม้เปลี่ยนสีเป็นเหลือง (พวกสน) แม้จะไม่สวยเหมือนญี่ปุ่นแต่ก้ทำให้เพลินตาดี รถมาถึงบุมทังตอนเกือบทุ่มครึ่ง เราก็ลากกระเป๋าเข้าโรงแรมเดิม Kaila Guesthouse

  • Bhutan,  Life in Bhutan

    Buddha relics

    เดือนตุลาคมนี้ทางการได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาจากศรีลังกาเพื่อให้ประชาชนได้นมัสการและจะนำมาประดิษฐานที่ทราชิกังเป็นเวลา ๓ วัน คือวันที่ ๑๘ ถึง ๒๐ นี้ คนที่นี่เองก็ตื่นเต้นมาก วันแรกประมานตีสี่รถราเริ่มวิ่งเข้าไปที่เมืองทราชิกังกันอย่างเนืองแน่นซึ่งผิดปกติวิสัยของที่นี่ที่นานๆ ทีจะมีรถผ่านสักคัน ที่วิทยาลัยเองก็มีการจัดรถรับส่งให้นักเรียนไปนมัสการอย่างดีทั้งรอบเช้าและบ่าย เราเลือกที่จะไปช่วงบ่ายเพราะช่วงเช้่าคาดว่าคนเยอะมาก (จริงๆ ตื่นไม่ทัน) พอนั่งรถบัสไปจนเกือบถึงเมืองก็เจอผู้คนมหาศาลนั่งๆ ยืนๆ เดินๆ อยู่เต็มถนนไปหมด รถราก็จอดกันระเกะระกะ (ปกติคนภูฏานก็จอดรถได้เห้มากอยุ่แล้ว) กว่ารถจะขยับไปถึงจุดที่พอจะจอดรถได้ก็เสียวจะเกี่ยวคนเดินเท้าที่ไม่เห้นรถอยู่ในสายตาไปหลายคน หลังจากลงเดินเพื่อจะไปที่ซ่อง (ไม่ใช่ซ่องโสเภณีนะ) เดินๆ อยู่ก็ได้ยินเสียดังโครมพร้อมเสียงโอ้ยและเสียงก่นด่า รถชนป้าคนหนุ่งที่เดินบนถนนแต่โชคดีที่ชนไม่แรง เราดชคดีที่มาตอนบ่ายเพราะคนน้อยลงมาก ใช้เวลาต่อคิวแค่ประมาน ๑๕ นาทีก็เข้าไปนมัสการพระธาตุได้ พระธาตุที่นำมามีของพระพุทธเจ้า พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร (ชื่อตามนี้เลย พระพุทธศาสนาที่ศรีลังกาได้อิทธิพลจากไทยไปเยอะหลังจากที่พระธรรมทูตไทยไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ศรีลังกา) แม้ว่าจะคนไม่เยอะในช่วงบ่ายแต่ก็หงุดหงิดกับความไม่มีระเบียบของคนภูฏาน คิดจะจอดรถคุยกันก็จอด ไม่สนใจว่าคันข้างหลังจะเป็นยังไง อยากจะรับส่งคนก็จอดมันกลางถนนนั่นแหละ แม้แต่งานใหญ่อย่างพิธีอภิเสกสมรสที่ผ่านมา มีการแจกข้าวกล่องอาหารกลางวัน ชาวบ้านก็กรูเข้าไปแย่งข้าวกันเหมือนอย่างกับแย่งทองคำ จนถุงขาดกล่องแตกเสียไปเกินครึ่งหนึ่ง เจ้าหน้าที่เองก็ประกาศบอกให้เข้าแถว อย่างแย่งของมีพอทุกคนก็ไม่มีใครฟังจนต้องเอาไปเลี้ยงหมาเสียครึ่งนึง (ถ้าเป็นอินเดียคงมีตำรวจเอาไม้กระบองมาฟาด) เมื่อเช้าแม้ว่าจะเป็นวันดีแต่ก็มีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นมีมีการเหยียบกันจนมีคนได้รับบาดเจ็บ (มีข่าวลือว่าตายไป ๓ คน แต่เท่าที่รู้ภายหลังว่าไม่จริง) พอกลับถึงวิทยาลัยก้รู้สึกสบายใจเพราะเรื่องน่าหงุดหงิดได้จบลง

  • Bhutan,  Life in Bhutan,  Travel in Bhutan

    Mini Hiking

    วันที่ 14 ก็เป็นวัดหยุดเฉลิมแลองพิธีอภิเสกสมรสอีกหนึ่งวันซึ่งในวันนี้คิงและควีนก็จะเดินทางกลับทิมพูและจะมีการเฉลิมฉลองเล็กที่ทาชิโชซอง ก็เป็นเรื่องที่น่าเศร้าเพราะเราไม่ได้ไปร่วมงานอีกแล้ว (ที่จริงอยู่เมืองไทยไปทิมพูง่ายกว่าอยู่ทาชิกังอีกนะครับ นั่งรถตั้งสองวันกว่าจะถึงแม้ว่าสนามบินในประเทศจะพร้อมแล้วก็ดันเลื่อนกำหนดบินปฐมฤกษ์ไปเสียฉิบ) ในเมื่ออยู่ว่างๆ ก็เลยตบปากรับคำว่าจะไปปีเขากับพักรักเรียนช่างไฟฟ้าซึ่งมีประมานสองกลุ่ม กลุ่มละสิบคนเห็นจะได้ผู้ชายก็แต่งโกะผู้หญิงก็แต่งคิร่ามาอย่างดีเห็นแล้วก็อดสงสัยไม่ได้ว่าสภาพนี้จะปีนถึงยอดเขาไหวมั้ยเนี่ย แต่ที่ไหนได้พอเริ่มปีนเท่านั้นแหละไอ้คนที่ว่าจะไปไม่รอดกลับกลายเป็นตัวเองไปเสียฉิบเพราะขาดการออกกำลังกายมานาน ส่วนสาวๆ นุ่งผ้าถุงเดินฉับๆ นำไปหลายทุ่งแล้ว ระหว่างทางก็ผ่านทุ่งนา ทุ่งข้าวโพดและบ้านชาวบ้านเป็นระยะๆ เจอต้นไม้ป่า ไม้ปลูกพวกนักเรียนก็ไปเด็ดมากินอย่างเอร็ดอร่อย มีทั้งส้มดิบ (สุกๆก็มีมันไม่เด็ด?) สาลีเปรี้ยว สาลี่ขม ระหว่างทางก็ไปขอซื้อแตงกวา (คนที่นี่กินแตงกวาเป็นผลไม้ ของว่าง ลูกขนาดฟักบ้านเรา) มากินเล่นหนึ่งลูกซึ่งชาวบ้านก็ใจดีให้มาฟรีๆ หลังจากนั้นก็ปีนเขาต่อมาอีกพักใหญ่ๆ ก็มาถึงจุดหมายซึ่งเป็นวัดที่ไม่ทราบชื่อ (ถามแล้ว ลืมแล้ว) มีรูปปี้นพระขนาดใหญ่อยู่ พอมาถึงพระลามะที่เป็นเจ้าอาวาสเห็นพวกเราขึ้นมาก็เลยเรียกให้เข้าไปพักในห้องรับแขกพร้อมเสริฟชานม (งาจะ) ร้อนๆ พร้อมข้าวโหดแข็งเป้ก (เต็งม่า) หลังพักเหนื่อยเสร็จก็เข้าไปไหว้พระในโบถส์ โดยปกติวัดทั่วไปใหญ่ๆ จะไม่ให้ถ่ายรูปแต่ที่นี่อยู่บ้านนอกมากเลยไม่มีข้อห้ามใดๆ ลักษณะภายในก็คล้ายกับวัดไทย มีพระประธานมีจิตรกรรมฝาผนังมีการรดน้ำมนต์ด้วย หลังจากนั้นพระท่านก็ชวนให้อยู่กินข้าวกลางวันก่อนซึ่งกว่าจะได้กินก็รอจนไส้กิ่วเกือบบ่ายสอง รีบกินแล้วก็เดินต่อไปอีกวัดหนึ่งซึ่งมีหินพิเศษๆ (นักเรียนเค้าว่ามางั้น) การเดินรอบนี้ไม่สบายตัวเท่าไรเพราะโดนยัดเยียดข้าวมาเยอะมาก เดินไปจุกไปเลี่ยนไปเพราะกับข้าวมีชีสเปรี้ยว มันฝรั่งผัด ซุปผักขมและผัดมันหมูซึ่งสยองมาก มีแต่มันล้วนๆ ทนกินไปสามชิ้นเพราะนักเรียนตักมาให้ (ถือเป็นของดีของอร่อย) เดินไม่นานมากก็ถึงยอดเขาซึ่งมีวัดเล็กๆแต่บรรยากาศดีมาก สักพักนักเรียนก็ไปเชิญลามะผู้ดูแลวัดมาอธิบายถึงหินต่างๆ ที่อยู่รอบวัดว่ามีความหมายอะไรบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ก็เชื่อว่าเกิดจากฤทธิ์ของกูรูรินโปเชแต่ที่แปลกสุดนี่มีส่วนของ “โยนีพระโพธิสัตว์” ด้วยเล่นเอางงไปเลยเหมือนกันช่างจินตนาการคัดสรรดีแท้ เมื่อเสร็จกิจก็เริ่มเดินลงเขาแต่พวกนักเรียนเริ่มออกลายแวะบ้านชาวบ้านหาซื้อเหล้าพื้นบ้าน “อะระ” กันไปตลอดทาง โดยปกตินักเรียนห้ามดื่มเหล้ากันอยู่แล้วพอได้ออกมาข้างนอกก็ถวิลหาเหล้ากันใหญ่ เราไปเจอบ้านหนึ่งซึ่งก็เอาเหล้ามาต้อนรับขับสู้เป็นอย่างดี แม้ว่าเรายืนยันจะจ่ายเงินค่าเหล้าแต่เจ้าของบ้านก็ไม่เอาเงิน ยื้อกันไปมาผลออกมาจ่ายไม่จ่ายก็ไม่ทราบแต่ก็ได้สัมผัสน้ำใจคนที่นี่ ขาลงเขารอบสุดท้ายนี่ไม่อยากพูดถึงคนนำทางดันไม่ชินทางพาหลงซะงั้น มืดก็มืดมองทางไม่เห็นลื่นล้มกันเจ็บตัว พวกที่กินเหล้าเมาดันลงไปถึงพื้นเรียบร้อยแล้ว กว่าจะหากันเจอพากันลงมาข้างล่างได้นี่ปั่นป่วนไปหมด เหนื่อยมากๆ กลับถึงห้องอาบน้ำนอนเลย

  • Bhutan,  Life in Bhutan

    The royal wedding

    หลังจากรอมานานในที่สุดวันที่ 13 ต.ค. 2554 ก็ได้ฤกษ์งามยามดีระหว่าง King Jigme กับ Jetsun Pema หญิงสาวสามัญชนซึ่งอ่อนกว่าถึง 10 ปี เข้าพิธีอภิเสกสมรส การเฉลิมฉลิงวันนี้จะจัดที่พูนาคา วันรุ่งขึ้นทั้งสองก็จะเดินทางกลับทิมพูและจะมีงานฉลองใหญ่ในวันถัดไป แม้จะมีโอกาสดีที่ได้มาอยู่ภูฏานในช่วงนี้แต่ก็เหมือนมีกรรมมาบังไว้เพราะพูนาคานั้นห่างไกลเหลือเกิน ต้องนั่งรถสองวันหนึ่งคืนกว่าจะถึง ซ้ำร้ายไปถึงก็ไม่มีที่พักแน่นอนเพราะมีนักท่องเที่ยวทั้งคนภูฏานเองและต่างชาติแห่กันมามากมาย ขนาดทัวร์ต้องไปกางเตนท์นอนกันริมแม่น้ำเพราะโรงแรมเต็มกันเลยทีเดียว ดรุ้กแอร์สายการบินแห่งชาติปกติบินไปกลับไทยวันละหนึ่งเที่ยวบิน แต่ช่วงนี้เพิ่มเป็นสามเที่ยวบิน ถึงกระนั้นก็เต็มทุกเที่ยวท่าทางงานนี้คงจะฟาดกำไรไปอย่างงามอย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยเหตุผลนี้เลยต้องนั่งดูทีวีอยู่ที่นี่แทน คนแถบบ้านนอกนี้ก็ไม่ได้ตื่นตัวกันมากเท่าไร นักเรียนส่วนใหญ่ขอกลับบ้านกันไปพอควรเพราะหยุดยาวถึง 4 วัน ในช่วงเช้าจะเป็นพิธีทางศาสนาซึ่งนานและค่อนข้างซับซ้อนเข้าใจยาก แม้แต่คู่บ่าวสาวเองก็ยอดดูสีหน้าอิดโรย เคร่งขรึม บึ้งตึงในหลายๆ จังหวะแต่พอเสร็จพิธีก็ทรงออกไปทักทายประชาชนที่มาเข้าเฝ้าและบางคนก็ถวายผ้าคะตะอันเป็นประเพณีที่สืบทอดมา หลังจากนั้นก็มีการเต้นรำเฉลิมฉลองรวมทั้งเลี้ยงอาหารฟรีตลอดงาน ดูไปจนถึง 3 โมงเริ่มเบื่อเลยกลับมาก่อน เสียดายอยากลองไปสัมผัสบรรยากาศมั่ง ได้แต่หวังว่าอีกไม่นานคงจะมีอีกสักพิธีนะอิๆ (ขนาดอดีตกษัตย์องค์ก่อนยังมีชายาตั้ง 4 คนแหนะ) ปล. รูปขโมยมาจาก Kuensel ไม่ว่ากันนะ

  • Computer techniques

    Thai, Japanese font for Nokia Symbian^3 (C7)

    หลังจากที่มีปัญหา Nokia Symbian^3 (C7) แสดงผลภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ ทำให้ชื่อเพลงหรืออ่านเว็บที่เป็นภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ หลังจากค้นหาฟอนต์มาลงใหม่ก็ไม่ถูกใจ ภาษาอังกฤษเบี้ยวบ้าง ภาษาไทยบิดจนอ่านยากบ้าง ฟอนต์ในเครื่องคิดเลขหลุดบ้าง เลยทำเองลองผิดลองถูกเรื่อยมาจนได้ฟอนต์ถูกใจคือมีคุณสมบัติดังนี้ 1. ภาษาไทย-อังกฤษใช้ฟอนต์เดิม ซึ่งสวยงาม อ่านง่ายและแสดงผลถูกต้องดีแล้ว 2. เพิ่มภาษาญี่ปุ่นเข้าไป ทดลองดูกับ mp3 หลายๆเพลงแล้วพบว่าค่อนข้างน่าพอใจ 3. ปัจจุบันยังใช้กับ dictionary ที่มากับเครื่องไม่ได้ (ภาษาญี่ปุ่น) วิธีลงอันดับแรกต้องมี SD card ต่างหาก แล้วสร้าง folder ชื่อ resourcefonts ขึ้นมาในการ์ด (เปลี่ยน usb mode เป็น mass storage) แล้วแตกไฟล์ฟอนต์ 4 ไฟล์ลงไป ปิด-เปิดเครื่องใหม่เป็นอันจบ Download ปล. ไฟล์เป็น 7zip ไปโหลดตัวแตกไฟล์ก่อนที่นี่