Buddha relics
เดือนตุลาคมนี้ทางการได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาจากศรีลังกาเพื่อให้ประชาชนได้นมัสการและจะนำมาประดิษฐานที่ทราชิกังเป็นเวลา ๓ วัน คือวันที่ ๑๘ ถึง ๒๐ นี้ คนที่นี่เองก็ตื่นเต้นมาก วันแรกประมานตีสี่รถราเริ่มวิ่งเข้าไปที่เมืองทราชิกังกันอย่างเนืองแน่นซึ่งผิดปกติวิสัยของที่นี่ที่นานๆ ทีจะมีรถผ่านสักคัน ที่วิทยาลัยเองก็มีการจัดรถรับส่งให้นักเรียนไปนมัสการอย่างดีทั้งรอบเช้าและบ่าย เราเลือกที่จะไปช่วงบ่ายเพราะช่วงเช้่าคาดว่าคนเยอะมาก (จริงๆ ตื่นไม่ทัน) พอนั่งรถบัสไปจนเกือบถึงเมืองก็เจอผู้คนมหาศาลนั่งๆ ยืนๆ เดินๆ อยู่เต็มถนนไปหมด รถราก็จอดกันระเกะระกะ (ปกติคนภูฏานก็จอดรถได้เห้มากอยุ่แล้ว) กว่ารถจะขยับไปถึงจุดที่พอจะจอดรถได้ก็เสียวจะเกี่ยวคนเดินเท้าที่ไม่เห้นรถอยู่ในสายตาไปหลายคน หลังจากลงเดินเพื่อจะไปที่ซ่อง (ไม่ใช่ซ่องโสเภณีนะ) เดินๆ อยู่ก็ได้ยินเสียดังโครมพร้อมเสียงโอ้ยและเสียงก่นด่า รถชนป้าคนหนุ่งที่เดินบนถนนแต่โชคดีที่ชนไม่แรง เราดชคดีที่มาตอนบ่ายเพราะคนน้อยลงมาก ใช้เวลาต่อคิวแค่ประมาน ๑๕ นาทีก็เข้าไปนมัสการพระธาตุได้ พระธาตุที่นำมามีของพระพุทธเจ้า พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร (ชื่อตามนี้เลย พระพุทธศาสนาที่ศรีลังกาได้อิทธิพลจากไทยไปเยอะหลังจากที่พระธรรมทูตไทยไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ศรีลังกา)
แม้ว่าจะคนไม่เยอะในช่วงบ่ายแต่ก็หงุดหงิดกับความไม่มีระเบียบของคนภูฏาน คิดจะจอดรถคุยกันก็จอด ไม่สนใจว่าคันข้างหลังจะเป็นยังไง อยากจะรับส่งคนก็จอดมันกลางถนนนั่นแหละ แม้แต่งานใหญ่อย่างพิธีอภิเสกสมรสที่ผ่านมา มีการแจกข้าวกล่องอาหารกลางวัน ชาวบ้านก็กรูเข้าไปแย่งข้าวกันเหมือนอย่างกับแย่งทองคำ จนถุงขาดกล่องแตกเสียไปเกินครึ่งหนึ่ง เจ้าหน้าที่เองก็ประกาศบอกให้เข้าแถว อย่างแย่งของมีพอทุกคนก็ไม่มีใครฟังจนต้องเอาไปเลี้ยงหมาเสียครึ่งนึง (ถ้าเป็นอินเดียคงมีตำรวจเอาไม้กระบองมาฟาด) เมื่อเช้าแม้ว่าจะเป็นวันดีแต่ก็มีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นมีมีการเหยียบกันจนมีคนได้รับบาดเจ็บ (มีข่าวลือว่าตายไป ๓ คน แต่เท่าที่รู้ภายหลังว่าไม่จริง) พอกลับถึงวิทยาลัยก้รู้สึกสบายใจเพราะเรื่องน่าหงุดหงิดได้จบลง