Life in Bhutan
-
คู่มือเตรียมตัวไปปฏิบัติงานอาสาสมัคร FFT (TICA) ประเทศภูฏาน
คู่มือเตรียมตัวไปปฏิบัติงานอาสาสมัคร FFT (TICA) ประเทศภูฏาน เกิดขึ้นหลังจากที่ผมไปปฏิบัติหน้าที่อาสาสมัครเพื่อนไทย Friend from Thailand (FFT) ของสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (TICA) ที่ประเทศภูฏานมาระยะหนึ่ง ก็มีความคิดที่จะบันทึกประสบการณ์ ข้อปัญหา ข้อควรระวังในการมาทำงานที่นี่ เนื่องจากผมเองก็ประสบปัญหาทั้งก่อนเดินทาง และระหว่างปฏิบัติงานค่อนข้างมากและทาง สพร. ก็ไม่ค่อยมีความพร้อมในการจัดการสักเท่าไร ข้อมูลที่จำเป็นก็ไม่ค่อยมีให้ จึงหวังว่าคู่มือนี้จะมีประโยชน์สำหรับอาสาสมัครหรือผู้ที่จะมาทำงานที่ภูฏานในยุคหลังๆ ได้อ่านเพื่อเป็นความรู้ และเตรียมตัวก่อนเดินทาง Download Handbook 2nd edition
-
Khuru
Khuru เป็นกีฬายอดนิยมอีกอย่างหนึ่งของภูฏานรองจากยิงธนู จะว่าไปน่าจะได้รับความนิยมมากว่าด้วยซ้ำเพราะเครื่องเล่นมีราคาถูกกว่าคันธนูหลายเท่าจึงแพร่หลายมากตั้งแต่ชนบทยันสังคมเมือง จนยันรวย วีธีการเล่นก็ไม่ยาก อันดับแรกต้องไปซื้อตัวลูกดอกมาก่อน ปกติจะขายกันแค่ตัวตุ้มถ่วงและเหล็กแหลม ต้องเอาไปขัดไส ติดหางเพิ่มเติมถึงจะใช้ได้ ลูกดอกของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันเพราะทำมือทุกอัน อันไหนดี อันไหนถนัด อันไหนส่ายไปส่ายมา ก็สุดแท้จะดัดแปลง เป้าทำจากไม้ขนาดเล็ก ทาสีขาว เหลือง เขียว แดง มีวงนอกวงใน ขอบคล้ายๆกับปาเป้าทั่วไป ผู้แข่งขันวันนี้มี ๒ ทีมจากวิทยาลัยและโรงเรียนประถม Kanglung แต่ละผู้เล่นก็ปลัดกันปาไปเรื่อยๆ ใครเข้าเป้าคะแนนก็ขึ้นและจะได้รับสิทธิติดผ้าแถบสี (ตามตำแหน่งที่เข้าเป้า) ตอนจบใครได้คะแนนเยอะสุดก็ชนะ กีฬานี้ทำให้ปวดแขนมาก พอเล่นไปสักครึ่งวันจะเห็นว่าผู้เล่นอิดโรย ปาแทบจะไม่เข้าเป้าเลย เป้าก็เล็กแสนเล็ก ห่างออกไปสัก ๕๐ เมตรน่าจะได้ เข้าเป้าทีก็ดีใจออกมาร้องรำทำเพลงตามแบบฉบับของที่นี่
-
ตามล่าหาแก้ส
เช้าที่สดใสวันหนึ่ง เราก็ทำภารกิจประจำวัน หุงข้าว ทำกับข้าวแต่ทว่าความซวยก็มาเยือนเมื่อถังแก้สว่างปล่าวจุดไม่ติด ถ้าเป็นที่ไทยปัญหานี้จะไม่มีอะไรน่าตกใจ ก็แค่ยกหูโทรศัพท์หาร้านแก้ส ไม่นานถังแก้สใหม่ก็จะมาเปลี่ยนถึงที่ แต่ที่นี่ก็คงจะไม่ง่ายอย่างงั้น แก้สถือว่าเป็นของหายากและมีจำนวนน้อย เวลาจะซื้อต้องขับรถไปถึงปั้มน้ำมัน (แห่งเดียว) ที่ทราชิกังโน่น และแน่นอนว่าคงจะกระเตงถังแก้สขึ้นรถแทกซี่ไปไม่ได้แน่ คงจะต้องพึ่งพาคนแถวนี้อีกแล้ว หลังจากเอากระทะไฟฟ้ามาเจียวไข่แก้ขัดเสร็จก็เข้าไปในสถาบันไปบอกท่านผอ. ว่าแก้สหมด คราวนี้ผอ. มาแปลกรีบกุลีกุจอโทรไปเช็คที่ปั้มให้แต่ก็ต้องผิดหวังเพราะของไม่มี (ไม่แปลกใจ) ของอาจจะมาอาทิตย์หน้า ก็เอาเป็นว่าอาทิตย์นี้ก็ใช้เตาไฟฟ้าไปก่อน อาทิตย์ถัดมา วันจันทร์ ได้ยินเสียงโครมครามด้านล่างเลยชะโงกหน้าไปดูก็พบว่าน้าหงอกบ้านข้างล่างขนถังแก้สใบใหม่มา ด้วยความดีใจวันพรุ่งนี้จะได้มีแก้สใช้สักที แต่ก็ต้องเศร้าเมื่อพบว่าของหมดไปตั้งแต่วันจันทร์แล้ว ซะงั้น อาทิตย์ต่อมามีคนมากดกริ่งเช้าวันจันทร์ ด้วยความงุนงงเปิดออกไปคุยก็เจอกับเชนโชเจ้าหน้าที่คุมโกดังมาบอกว่าอาทิตย์นี้ไม่มีแก้สอีกแล้ว เออเริ่มจะชินแล้วละ อาทิตย์ต่อมาอีก คาม่าคนขับรถขับรถไปทราชิกังวันจันทร์พร้อมกับถังแก้สจำนวนนึง ด้วยความเซ็งสุดขีดทั้งๆที่บอกไปแล้วว่าถ้าแก้สมาให้บอกด้วย และคำตอบก็คือโทษทีไม่รู้ว่าอยากซื้อแก้ส เออดี อาทิตย์ต่อมาก็ไปย้ำกับผอ. อีกว่าป่านนี้ยังไม่ได้แก้สเลย ผอ. ก็บอกไม่ต้องห่วงเขาก็อยากได้เหมือนกันของมาแล้วจะบอก อีก ๒ ๓ วันต่อมาผอ. ก็โทรมาบอกว่าแก้สมาแล้ว ให้รีบไปเลย เรารีบกลับบ้านไปขนถังแก้สลงมาขึ้นรถและก็บึ่งไปทราชิกังทันที รากฎว่าเรามาเร็วไปเลยต้องไปฆ่าเวลาด้วยการซื้อของที่ทราชิกังก่อน พอตอนใกล้ๆเที่ยงก็ไปที่ปั้มก็พบว่ารถบรรทุกแก้สมาแล้ว กำลังขนลง กว่าจะได้แก้สนี่มันยากลำบากเหลือหลาย แทบจะต้องมาเฝ้าปั้มกันเลยทีเดียว เมื่อปีที่แล้วมีเหตุการณ์แก้สขาดตลาด คนที่ต้องการแก้สต้องของโทรเช็คแล้วมานอนเฝ้ารอของที่ปั้มกันเลยทีเดียว การซื้อแก้สที่นี่ก็ยากลำบาก คนที่จะเป็นเจ้าของถังแก้สได้ต้องยื่นคำร้องขอซื้อถังแก้สแล้วจะได้สมุดบันทึกมาเล่มหนึ่งที่มีชื่อ ที่อยู่ รูปถ่ายพร้อมบันทึกการซื้อแก้สทุกๆครั้ง ถ้าไม่เอาสมุดเล่มนี้มาก็ซื้อไม่ได้ (แต่เมื่อปีที่แล้วเหมือนจะไม่มีระบบนี้) การสมัครก็ยากเย็นใช้เวลาเป็นเดือน (ตามสไตล์) ครอบครัวนึงจะได้ปกติ ๑ ถัง แต่บ้านส่วนใหญ่มักอยากได้ ๒ ถังเพื่อสำรอง การจะได้มาซึ่งถังที่ ๒ ต้องใช้กำลังภายในและเส้นสายพอสมควร ราคาแก้สตอนนี้อยู่ที่ ๕๐๕ งุลตรัม ถังแก้สที่ได้รอบนี้สภาพโทรมมาก บุบ สีที่ทาหายไปหมดเหลือแต่คราบสนิม คนที่นี่ชอบโยนถังแก้สไม่รู้เป็นอะไร ถังแก้สเต็มๆ แทนที่จะยกลงจากรถก็โยนจากกระบะลงมาเลย ไอ้เราก็กระโดดหนีเหยงๆ เลย ทำอะไรบ้าๆ ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย เอาสะดวก สนุกเข้าไว้ ถังมันถึงได้บุบบู้บี้แบบนี้ แต่ก็ยังดีที่มันยังไม่ระเบิดใส่ใครตาย (ที่จริงน่าจะมีสักครั้งก็ดีจะได้เป็นกรณีตัวอย่าง) ในที่สุดหลังจากไม่มีแก้สใช้มาเดือนนิดๆ ความสะดวกสบายก็กลับมายังห้องครัวอีกครั้ง
-
หิมะถล่ม ๒
๑๘ ก.พ. ตามเคยสไตล์ภูฏาน นัด ๖ โมง โทรไป ๗ โมงก็ยังไม่ออก ฮ่าๆ เราก็เลยนอนต่ออย่างสบายอารมณ์ พอเช้าแดดออกอากาศก็อุ่นขึ้นอย่างรวดเร็ว หิมะก็เริ่มละลายไปเยอะแล้ว คว้ากล้องออกไปถ่ายรูปรอบๆ รวมถึง Jakar Dzong สักประมาณ ๙ โมงลุงก็โทรมาบอกว่าพร้อมออกเดินทาง ก็ไปเคาะเรียกเจ้ Tshering ให้ไปเจรจากับลุงเอง พอลุงมารับ ลุงก็มองหน้าเหล่ๆแล้วถามว่า Charo เหรอ ไม่รู้จะตอบยังไงดี เก็บของเสร็จลุงก็ขับไปจอดรอที่ลานรถบัสเพื่อรอไฟเขียวจาก RSTA อีกทีหนึ่ง ระหว่างรอก็คุยกับเจ้ไปเรื่อยๆและก็ได้ความว่ามีอีกคนจะขอติดรถไป Lobesa ด้วย คราวนี้สมาชิกเต็มคันเลย ออกไปได้สักพักก็ยังครื้นเครงอยู่พอรถเริ่มขึ้นเขาเท่านั้นแหละในช่วงโค้งที่อยู่ในร่มหิมะยังไม่ละลายและหนา เอาแล้วรถเริ่มติดหล่มแล้ว ตายละวา แรกๆก็ยังพอไปได้ ขึ้นไปสักพักเริ่มจอดติดกันเป็นขบวนถ้าคันหน้าติดเราก็ไปไม่ได้ต้องลงไปช่วยกันเข็น ช่วงแรกๆ ติดไม่มากนักใช้ ๔-๕ คนเข็นก็หลุดจากหล่ม แต่เวลาออกแรงเข็นนั้นเหนื่อยมากเพราะพื้นลื่นและเย็น ขึ้นไปเรื่อยๆ ก็มีพวกคนงานจาก RSTA มาช่วยกันกวาดหิมะและมีรถตักดิน JCB คอยกวาดหิมะอยู่แค่ ๑ ครัน พอพ้นช่วงช่องเขาไปได้ก็เริ่มลงไม่มีปัญหาอะไรยาวไปจนถึง Chumei จนกระทั่ง พอเริ่มไต่ระดับอีกครั้งก็เจอปัญหาอีก ช่วงหลังๆนี้มีหน่วยกู้ภัยใส่เสื้อสีส้มๆ ออกมาช่วยกันเข็นรถมากขึ้นแต่ก็ไม่ได้มีเครื่องมือแซะหรือกวาดหิมะสักเท่าไร พอใกล้ Yotonla นี่เริ่มหนักข้อ เข็นแล้วก็ติดๆ แทนจะทุกๆ ๑๐ เมตรเลย พอเร่งเครื่องแรงๆ ล้อก็ฟรีและแฉลบออกซ้ายขวา บางครั้งแฉลบออกจะลงเหวเป็นที่หวาดเสียวดีแท้ ลงไปช่วยเขาเข็นรถจนแทบหมดแรงแถมรองเท้าแฉะ ฉ่ำ เย็นไปหมด รู้อย่างนี้เอารองเท้าเดินเขามาแต่ทีแรกก็สบายไปแล้ว พอถึง Yotonla นึกว่าจะรอดแล้วที่ไหนได้แม้แต่ขาลงรถก็ติดหล่มอีก หิมะที่นี่หนากว่าที่อื่นลำบากมากๆ เจอรถบรรทุกคันหนึ่งถึงกับจอดเอาเตาแก้สมาต้มหิมะทำกับข้าวกินรอกันเลย ระหว่างทางมีรถที่จะไปบุมทังจอดรอสวนอยู่มากพอสมควร พอเริ่มหลุดไปได้และความสูงลดลง หิมะน้อยลงรถก็วิ่งได้ปกติ พอใกล้ถึง Trongsa รถก็วิ่งฉิว พอเข้าเมืองก็พบว่า RSTA ยังกักรถไม่ให้มุ่งหน้าบุมทังอยู่ มีคนนั่งๆนอนๆ รอตามข้างถนนมากมาย ถึงทรองซาตอน ๓ โมงครึ่งถึงได้กินข้าวกลางวัน มื้อนี้เจ้ Tshering เป็นเจ้าภาพเพราะไม่ได้ช่วยเขาเข็นรถเลย กินข้าวเสร็จก็เดินทางต่อ ระกว่างทางมี Coaster บัสสวนมาหลายคัน เท่าที่ดูคงต้องจบที่ทรองซาท่าทางจะลำบากเพราะเมืองเล็ก โรงแรมไม่น่าจะมีเยอะพอสำหรับคนขนาดนั้น (ปกติรถก็ไม่แวะพักที่นี่อยู่แล้ว) พอใกล้ถึง Perila หิมะก็เริ่มหนาขึ้น ทุ่งนาที่อยู่ฝั่งตรงข้ามที่เป็นสปอตถ่ายรูปก็ขาวโพลนไปด้วยกิมะ โชคดีที่รถไม่ติดหล่มอะไร ยาวไปจนถึงทิมพู ตาลุงคนขับก็ไม่รู้จะขี้ร้อนไปไหนต้องเปิดกระจกขับรถ ลมเข้ามาก็หนาวมากๆ…
-
หิมะถล่ม ๑
เมื่อวันที่ ๑๖ ก.พ. ที่ผ่านมา ได้ออกเดินทางไปทิมพูเพื่อไปเที่ยวงาน Takin Festival ที่ Gasa โดยอาศัยติดรถลุงของเพื่อนที่รู้จัก ตอนนัดกันก็บอกว่าให้เตรียมตัวประมาณตี ๕ ครึ่ง เราก็ตื่นแต่เช้าออกมานั่งๆ นอนๆ รอ หนาวก็หนาว พอสัก ๖ โมงครึ่งก็เลยโทรไปตาม ก็ได้ความว่ายังไม่ออกเลย ถ้าไปถึงแล้วจะบีบแตรเรียก ด้วยความเซ็งสุดๆ (แต่ก็ทำใจไว้แล้ว) ก็เลยไปเอาฮัทเตอร์มาเปิดนอนรอจนประมาณ ๘ โมงครึ่งถึงจะโผล่มา เอากับเขาสิ ลุงคนขับรถพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย ก็ได้แต่นั่งใบ้ไปตลอดทาง หลับๆตื่นๆ เมารถบ้างบางจังหวะ พอมาถึง Sengor แวะกินข้าวเสร็จก็เดินทางต่อเข้าสู่ Trumshimla National Park ฝนก็เริ่ใปรอยปรายลงมา สักพักพอไต่ระดับขึ้นไปสูง ก็กลายเป็นหิมะ และก็เริ่มสะสมจนขาวโพลนตามต้นสนและข้างทาง อากาศค่อนข้างหนาวแต่ลุงคนขับดันเปิดหน้าต่างตลอด หนาวตั้งแต่ขายันหัวเลยทีเดียว พอมาถึง Bumthang ก็มืดแล้ว หิมะก็ยังไม่หยุดตก ถามลุงว่าจะนอนโรงแรมที่ไหน ก็ได้คำตอบลางๆ ว่า Trongsa ทีแรกก็นึกว่าไปนอนที่ Trongsa แต่ก็ไม่ได้ไป แค่แวะไปเติมน้ำมันแล้วก็กลับมาในเมือง (มารู้ทีหลังว่ามีโรงแรมชื่อ Trongsa ที่นี่ด้วย) ก็เลยบอกให้ลุงไปส่งที่โรงแรง Trashi Yangkhel ที่นอนประจำแทน ที่โรงแรมมีรถเยอะพอควรแต่ก็มีห้องว่าง ลุงไม่นอนที่นี่เลยนัดออกเดินทางประมาณ ตี ๕ ครึ่งและขอเบอร์ผ่านล่าม พอเก็บของเสร็จก็แวะไปกินโมโม่ในเมืองและเดินเล่นเล็กน้อยก่อนกลับมาโรงแรม อากาศที่นี่หนาวจึงต้องจุดเตาผิงที่เรียกว่า Bukkhari ซึ่งใช้ไม้ฟืนและให้ความร้อนดี สักพักประมาณ ๓ ทุ่มไฟดับ ก็เลยเข้านอน แต่สักพักไฟก็มา ตอนเช้าตื่นตี ๕ ออกไปชะโงกดูข้างนอกปรากฎว่าหิมะยังไม่หยุดและตกหนักพอควร ขาวโพลนไปหมดแถมไฟก็ดับ พอดีมีคนอยู่แถวนั้นเลยให้เขาช่วยคุยกับลุงหน่อย ก็ได้ความว่ายังออกเดินทางไม่ได้ ถ้าไปได้แล้วจะโทรบอก ก็เลยขึ้นไปนอนต่อ สักพักลุงโทรมาแต่คุยไม่รู้เรื่อง นึกว่าไปได้แล้วที่ไหนได้ปรากฎว่าถนนปิดโดย RSTA ไม่ให้ออกเดินทางเพราะอันตราย รถบัสที่ออกไปแล้วก็กลับมาจอดที่เดิม พอเช้าหิมะก็ยังไม่หยุด ลองถามคนแถวนั้นดูก็บอกว่าวันนี้คงออกเดินทางไม่ได้แน่ๆ ต้องทำใจ เลยสั่งข้าวเช้าเป็นข้าวผัดผักกากๆ มีเศษผักปนอยู่นิดๆ ห่วยแตกที่สุด จากนั้นก็ออกไปเดินเล่น ถ่ายรูปไปเรื่อยๆ จนรองเท้าเปียกก็เลยกลับมานั่งผิงเตาที่ชั้นล่างของโรงแรมโดยมีคนภูฏานนั่งคุยกันอยู่หลายคน คนแรกเป็นข้าราชการเกษียรแล้ว เคยเป็นครู, Bumthang Dzongdag, Secretary of National Assembly, High Court เยอะแยะมากมาย…