Saudi Arabia

  • Saudi Arabia

    Banking for expats in Saudi Arabia

    Banking for an expat in Saudi is such a pain in the ass. Most of the Saudi staffs are inefficient, unresponsive, uninviting and not doing their job. Be prepared to turn away a few times before getting the transaction done! Here I’d like to share my experiences with various bank in the kingdom. SAMBA (previously Saudi American Bank) The only 2 banks that have a branch in Diplomatic Quarter are Samba and Alawwal. This is my first bank and why Samba bank? well my office is banking with them… The DQ branch staff is familiar with foreigner especially the diplomat, most of them are nice but some not. My experience…

  • Saudi Arabia

    ใบอิกาม่า Iqama (إقامة)

    คนต่างด้าวในซาอุดีอาระเบียทุกคนต้องมีใบอนุญาตพำนักที่เรียกว่า Iqama ซึ่งจะมีเลขประจำตัว 10 หลักที่มีความจำเป็นมากในการทำธุรกรรมต่างๆ ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อราชการ ทำใบขับขี่ เปิดบัญชีธนาคาร ซื้อซิมการ์ด เข้าโรงพยาบาล ฯลฯ ซึ่งการขอใบอิกาม่านี้ก็ไม่ยากทางสำนักงานทำให้ผมแค่วันเดียวก็ได้แล้วซึ่งถือว่าเร็วมากจนน่าตะลึงเพราะพี่ๆ ที่นี่บอกว่าบางทีรอเป็นเดือนเลย ทีนี้ใบอิกาม่าของนักการทูตนี่จะไม่เหมือนกับของคนทั่วไปคือจะยกเว้นการพิมพ์ลายนิ้วมือซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาทีหลังเพราะบางธุรกรรมที่ต้องการการยืนยันตัวตนแบบ bio-metric นั้นจะทำไม่ได้ (เช่นซื้อซิมการ์ด) ทำให้นักการทูตบางคนก็ต้องไปที่กระทรวงการต่างประเทศอีกทีเพื่อพิมพ์ลายนิ้วมือ ระบบ e-government ซึ่งเชื่อมต่อกับเลขอิกาม่านี้ค่อนข้างล้ำสมัยมาก มีการเชื่อมต่อข้อมูลเกือบทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ก็ยังมีความวุ่นวายในแบบฉบับแขกๆ เช่น ชื่อ-นามสกุลบนบัตรต้องเขียนเป็นอารบิกเท่านั้น ซึ่งสร้างความปวดหัวในการทำธุรกรรมอื่นๆ ที่โดนมากับตัวคือพอไปเปิดบัญชีธนาคาร พนักงานสะกดชื่อภาษาอังกฤษผิดๆ เพราะถอดออกจากตัวอารบิกอีกที แม้เราจะแย้งแล้วว่าไม่ได้เขียนแบบนี้พร้อมยื่นสำเนาพาสปอร์ตให้ก็ไม่ฟัง ยืนยันว่าไม่มีปัญหาอะไร ใช้ๆ ไปเหอะ ชื่อบนหน้าบัตรเครดิตผมเลยบัดซบมากๆ นอกจากนี้ระบบวันที่นี่ก็ใช้แบบอิสลามซึ่งก็สร้างความสับสนให้กับชีวิตมากพอสมควร แต่ก็ยังใจดีที่เลขบัตรอิกาม่าเขาพิมพ์ใช้ตัวเลขฮินดูอารบิก

  • Saudi Arabia

    เรื่องพังๆ ของระบบไฟฟ้าในซาอุ

    ก่อนจะย้ายมาอยู่ที่นี่ก็ได้ศึกษามาเบื้องต้นว่าที่นี่ใช้ไฟ 220V 60Hz และใช้ปลั้กแบบอังกฤษ ก็เลยเตรียมอุปกรณ์และหัวแปลงมาอย่างดี พอมาถึงที่นี่ก็พบกับความหรรษาเพราะว่ามันมีระบบไฟที่เละเทะมาก คนที่นี่เล่าให้ฟังว่าเดิมทีที่นี่ใช้ไฟ 127V ซึ่งคิดว่าอเมริกามาวางรากฐานให้เพราะใช้ความถี่ 60Hz ตามสไตล์เมกัน แต่ดันใช้ปลั๊ก Schuko หัวกลมแบบยุโรปซึ่งดูๆ แล้วประเทศที่เคยเป็นของเนเธอแลนด์ เช่น Aruba, Netherlands Antilles ก็ใช้ไฟแบบนี้ก็เลยคิดว่าไม่ต่างจากไทยคือเอามันยำรวมกันเละไปหมด ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น อุปกรณ์ที่ใช้กำลังไฟฟ้าเยอะมีจำนวนมากขึ้นก็เลยเดินไฟระบบ Dual 127/220V โดยปลั๊กไฟและไฟส่องสว่างจะใช้ไฟ 127V และอุปกรณ์ที่กินไฟมากเช่น Heater, A/C และเตาไฟฟ้าต่างๆ จะใช้ไฟ 220V ซึ่งแน่นอนว่ามีหลายประเทศที่ใช้ระบบไฟแบบนี้เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา แต่เขามีระบบระเบียบมากกว่าที่นี่ และเพราะความไร้ระบบระเบียบนี้ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ไฟช็อต เครื่องใช้ไฟฟ้าพังเพราะเสียบปลั๊กผิดรูกันมามากต่อมากแล้ว ในทีสุดเมื่อราวๆ 10 ปีก่อนรัฐบาลซาอุก็ได้ตัดสินใจยกเลิกระบบไฟ Dual 127/220V หันไปใช้ไฟ 220V 60Hz และใช้ปลั้กแบบอังกฤษให้เป็นมาตรฐานเดียวทั่วประเทศ ซึ่งมีระยะปรับปรุงประมาณ 25 ปี ปัจจุบันบ้านเรือน ออฟฟิตที่นี่ยังปรับปรุงระบบไฟไม่เสร็จและยังคงมีทั้ง 2 แรงดัน แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ๆ ที่ขายจะเป็น 220V 60Hz ปลั้กแบบอังกฤษหมดแล้ว แต่ไฟส่องสว่างยังมีทั้ง 127/220V อยู่สร้างความปวดหัวกันต่อไป ในออฟฟิตของสถานทูตไทยที่นี่ไฟฟ้ายังเป็นระบบเดิมคือ 127V แต่เพิ่มเติมคือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นี่หลากหลายมาก เอามาจากไทยก็มี มีทั้งปลั๊กขาแบน ขากลม ขาเหลี่ยมครบเลย เวลาจะเสียบจะใช้อะไรก็ต้องพลิกดูให้ดีๆ ว่ามันใช้ไฟเท่าไร พี่ที่นี่เล่าให้ฟังว่าล่อ PSU คอมพิวเตอร์พังไปตัวเพราะเผลอเอาไปเสียบปลั๊ก 220V ทีนี้มันมีอุปกรณ์หน้าตาแปลกๆ ที่ไม่ค่อยได้เเห็นกันเท่าไร 2 ชนิดได้แก่ Auto Transformer 127/220V ก็มีหน้าที่แปลงไฟ step up/down ได้หมด ซึ่งที่ไทยส่วนใหญ่จะมีแต่ step down เพราะคงไม่มีคนเอาไปเพิ่มไฟเป็น 440V ต่อมาก็เป็น Stabilizer แบบ Dual Voltage ซึ่งที่เห็นเยอะๆ เป็นของญี่ปุ่น Nippon Keidenki Works ท่าทางที่นี่ไฟจะกระชาก/ตกบ่อย เลยต้องมี Stabilizer ใช้กัน ทีนี้มันก็สะดวกดีตรงที่มัน dual input/output 110/220V…