Life in Bhutan

  • Bhutan,  Life in Bhutan

    Happy Losar

    วันนี้เป็นวันดีวันขึ้นปีใหม่ตามแบบฉบับชาวพุทธทิเบต ซึ่งมักจะฉลองกันแถบตอนเหนือของอินเดียที่นับถือพุทธทิเบต การนับวันขึ้นปีใหม่นี้นับโดยใช้ปฏิทินจันทรคติทำให้ได้วันออกมาไม่ตรงกันทุกปี แต่ก็จะใกล้เคียงกับวันตุษจีนเสมอเพราะนับแบบเดียวกัน โดยปกติชาวบ้านจะทำความสะอาด ทำอาหารฉลองกันอย่างเต็มที่ อยู่กันพร้อมหน้าครอบครับและญาติพี่น้อง แต่เท่าที่สอบถามดูไม่ค่อยมีใครไปวัดกันสักเท่าไรนัก ส่วนใหญ่จะออกไปกินอาหารนอกบ้านมากกว่า (แค่ถือจานออกไปกินกลางแดด ก็นับ) ซึ่งก็เรียกกันสวยหรูว่าปิคนิค ช่วงหลังปีใหม่นี้ ในเดือน ๑ ของทางจันทรคติจะเป็นเดือนที่งดเว้นการขายเนื้อสัตว์ทุกชนิด (แต่ไม่งดกิน) ทำให้ช่วงนี้ร้านเนื้อจะปิด ๑ เดือนเต็ม แต่คนส่วนใหญ่มักจะซื้อเนื้อมาตุนเอาไว้อยู่แล้ว ช่วงก่อน Losar นี้จะมีสัตว์ถูกเชือดมากมายเพื่อตอบสนองความต้องการเนื้อและการกักตุน ทำให้คิดว่าแท้จริงแล้ว คนเหล่านี้ได้เข้าถึงแก่นแท้ของการงดเว้นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตหรือเปล่านะ ว่าแล้วเราก็ตุนไม่ทันคนภูฎานก็ก้มหน้ากินหัวกะหล่ำปลีกันต่อไป T_T

  • Bhutan,  Life in Bhutan

    Bhutan work permit extension and visa renewal

    I always try to avoid getting involved with any bureaucratic transaction in any countries especially in Asia. However when the time has come and thing is unavoidable, my work permit and visa is soon to expire. As you may tried to find any information about the renewal. You might have read Bhutan Observer story about expat teachers had their hard time getting their documents done. I faced the same problems. I try not to blame any of my colleagues or principal (so who to blame then?) and try to finish this myself. I am going to describe this stupid, ineffective procedure for anyone who is going to do the same.…

    Comments Off on Bhutan work permit extension and visa renewal
  • Bhutan,  Life in Bhutan,  Travel in Bhutan

    Festival at Bumthang

    การเดินทางจากทราชิกังไปทิมพูต้องแวะค้างคืนที่บุมทัง เรามาได้โอกาสกำลังเหมาะเขากำลังจัดเทศกาลถึง ๒ เทศกาลพร้อมกันคือ Jambay Lhakhang Drup, Prakhar Duchhoed ซึ่งจัดซ้อนกัน เวลาแต่ละปีจะเปลี่ยนไปเพราะเค้าดูตามปฏิทินจันทรคติ Jambay Lhakhang Drup จัดขึ้นที่วัดจัมเบ มีอะไรน่าสนใจอยู่บ้างคือพิธีตอนกลางคืนประมานสัก ๒ ทุ่มคือ Mewang เป็นพิธีเต้นรอบกองไฟเพื่ออวยพรให้หญิงที่มีลูกยากได้มีลูกตามต้องการ (เราไปไม่ทัน) และสุดท้ายคือ Tercham หรือ Naked dance ที่เลื่องชือ ที่เรามาที่นี่ก็เพราะอยากรู้ว่ามันจะเจ๋งยังไงนี่แหละ เรามาถึงงานตอน ๓ ทุ่ม เจอกลุ่มคนญี่ปุ่นที่เป็นอาสาสมัครมากพอควร ก็ชวนกันคุยเล่นฆ่าเวลาไปเรื่อยๆ เพื่อรอดู Naked Dance ซึ่งจะเริ่มเที่ยงคืน สักพักก็ทนหนาวไม่ไหวเลยไปหาอะไรดื่มที่เพิงด้านนอกเหมือนงานวัดไทยหรือ Yatai ที่ญี่ปุ่น พอได้สักเกือบเที่ยงคืนก็กลับมายืนจองที่ดู อากาศหนาวมากที่สุด ปากสั่นมือสั่นกันทีเดียว (เสื้อหนาวมีน้อยด้วย) แต่ยืนเบียดๆ กันก็ไม่หนาวมาก จนกระทั่งเที่ยวคืนพิธีอันไม่น่าตื่นตาตื่นใจก็เริ่มขึ้น มีคนแก้ผ้า (ผู้ชายนะ) พันหน้าตาอย่างดีออกมากระโดดโลดเต้นไปเรื่อยๆ สักพักก็ทยอยออกมามากขึ้นมีทั้งอันเล็กอันใหญ่ ปนๆ กันไป การเต้นดูไม่มีสาระเลย กระโดดไปกระโดดมา บางที่ก็ไปแกล้งคนดูโดยการกระโดดไปตรงหน้าเค้าซะงั้น สักพักนักเต้นก็หนาวเลยไปยืนกุ้มเป้าผิงไฟเต้นไม่ออก มีอยู่จังหวะหนึ่งลมพัดแรงพาสะเก็ดไฟลอยละลิ่วไปปะทะตามตัวนักแสดง กระโดดหลบกันเหยงๆ เป็นที่น่าเวทนา เราทนดูได้สัก ๕ นาทีก็เผ่นเพราะรู้สึกว่าไร้สาระและก็หนาวมากๆ :(ไม่มีรูปเพราะเค้าไม่ให้ถ่าย ถึงถ่ายได้ก็ไม่อยากถ่าย) วันรุ่งขึ้นอากาศก็ดีมาก อันดับแรกต้องไปหาซื้อตั๋วรถบัสไปทิมพูก่อนที่จะหมด เดินหาท่ารถอยู่นานก็ไม่มีจนต้องไปถามตำรวจเค้าเลยชี้ไปที่ร้านขายของชำซึ่งมีป้ายบริษัทรถเล็กๆปิดอยู่เลยถึงบางอ้อ ที่นี่ไม่มีท่ารถแต่รถแต่ละบริษัทจะจอดที่ร้านขายตั๋วของตัวเอง จากนั้นเราก็ไปเดินเล่นชมวิวไปตามจุดต่างๆ ทั้งภูเขา Jakar Dzong และ Wangdue Choling Palace มีใบไม้เหลืองแดงบ้างสร้างบรรยากาศน่ารื่นรมณ์ เสร็จแล้วก็ไปที่วัดจัมเบเหมือนเดิมเพื่อนไปดูการแสดงแบบปรกติซึ่งได้ดู ๒ ชุดคือ ระบำหน้ากากบรรยายเกี่ยวกับธรรมมะบทต่างๆ และแสดงตลกคลายเครียดซึ่งหลังๆ ดูแล้วเครียดเพราะไม่รู้มันทำอะไร คนดูก็เซ็งๆ ลุกหนีหายไปพอควร พอพระอาทิตย์ตกดินก็กลับที่พักเพราะต้องออกแต่เช้า

  • Bhutan,  Life in Bhutan,  Travel in Bhutan

    Trip to Bumthang

    เนื่องจากได้รับเชิญไปช่วยงานวันชาติไทยที่จะจัดขึ้นที่เมืองหลวงทิมพูในวันที่ ๑๘ พ.ย. ที่จะถึงนี้ เราจึงต้องเดินทางที่ไม่ค่อยปลื้มสักเท่าไรไปทิมพู แม้ว่าระยะทางจะประมาณ ๕๕๐ กม. แต่ต้องใช้เวลาบนรถบัสถึง ๒ วันเต็ม ช่วงนี้เป็นช่วงเข้าฤดูหนาว การเดินทางจึงยากลำบากขึ้นทั้งสภาพอากาศ ถนนที่ลื่นหรือมีดินถล่ม เราออกเดินทางจากที่พักตอนตี ๕ เพื่อไปขึ้นรถที่ทราชิกัง อากาศตอนเช้าหนาวมากทีเดียว สภาพรถที่เดินทางจัดว่าดีแต่คนที่เดินทางไปด้วยนั้นขนหอบของสารพัดชนิดที่ไม่มีพื้นที่ว่างที่จะเดินกันเลยทีเดียว แถวเก้าอี้เสริมก็ถูกจองจนเต็ม สภาพไม่ต่างจากประกระป๋องหมดอายุสักเท่าไร เริ่มออกเดินทางคนขับรถของเราก็ขากเสรดตลอดเวลา ข้างหลังมีคุณยายก็เมารถอ้วก ขากเสรดไปตลอดอีกเช่นกัน สร้างความรื่นเริงบันเทิงใจอย่างมาก รถแวะที่หมู่บ้าน Yadi เพื่อกินข้าวเช้าก่อนวิ่งยาวจนถึงบ่าย ๒ จึงแวะกินข้าว ระหว่างทางเมื่อผ่านช่องเขา Trumshing La ก็พบว่ามีหิมะตกแล้วเมื่อไม่นานมานี้ รถเราเลยต้องวิ่งช้าลงมากเพราะอันตรายจากน้ำแข็งบนพื้น ระหว่างทางมีบางช่วงมีใบไม้เปลี่ยนสีเป็นเหลือง (พวกสน) แม้จะไม่สวยเหมือนญี่ปุ่นแต่ก้ทำให้เพลินตาดี รถมาถึงบุมทังตอนเกือบทุ่มครึ่ง เราก็ลากกระเป๋าเข้าโรงแรมเดิม Kaila Guesthouse

  • Bhutan,  Life in Bhutan

    Buddha relics

    เดือนตุลาคมนี้ทางการได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาจากศรีลังกาเพื่อให้ประชาชนได้นมัสการและจะนำมาประดิษฐานที่ทราชิกังเป็นเวลา ๓ วัน คือวันที่ ๑๘ ถึง ๒๐ นี้ คนที่นี่เองก็ตื่นเต้นมาก วันแรกประมานตีสี่รถราเริ่มวิ่งเข้าไปที่เมืองทราชิกังกันอย่างเนืองแน่นซึ่งผิดปกติวิสัยของที่นี่ที่นานๆ ทีจะมีรถผ่านสักคัน ที่วิทยาลัยเองก็มีการจัดรถรับส่งให้นักเรียนไปนมัสการอย่างดีทั้งรอบเช้าและบ่าย เราเลือกที่จะไปช่วงบ่ายเพราะช่วงเช้่าคาดว่าคนเยอะมาก (จริงๆ ตื่นไม่ทัน) พอนั่งรถบัสไปจนเกือบถึงเมืองก็เจอผู้คนมหาศาลนั่งๆ ยืนๆ เดินๆ อยู่เต็มถนนไปหมด รถราก็จอดกันระเกะระกะ (ปกติคนภูฏานก็จอดรถได้เห้มากอยุ่แล้ว) กว่ารถจะขยับไปถึงจุดที่พอจะจอดรถได้ก็เสียวจะเกี่ยวคนเดินเท้าที่ไม่เห้นรถอยู่ในสายตาไปหลายคน หลังจากลงเดินเพื่อจะไปที่ซ่อง (ไม่ใช่ซ่องโสเภณีนะ) เดินๆ อยู่ก็ได้ยินเสียดังโครมพร้อมเสียงโอ้ยและเสียงก่นด่า รถชนป้าคนหนุ่งที่เดินบนถนนแต่โชคดีที่ชนไม่แรง เราดชคดีที่มาตอนบ่ายเพราะคนน้อยลงมาก ใช้เวลาต่อคิวแค่ประมาน ๑๕ นาทีก็เข้าไปนมัสการพระธาตุได้ พระธาตุที่นำมามีของพระพุทธเจ้า พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร (ชื่อตามนี้เลย พระพุทธศาสนาที่ศรีลังกาได้อิทธิพลจากไทยไปเยอะหลังจากที่พระธรรมทูตไทยไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ศรีลังกา) แม้ว่าจะคนไม่เยอะในช่วงบ่ายแต่ก็หงุดหงิดกับความไม่มีระเบียบของคนภูฏาน คิดจะจอดรถคุยกันก็จอด ไม่สนใจว่าคันข้างหลังจะเป็นยังไง อยากจะรับส่งคนก็จอดมันกลางถนนนั่นแหละ แม้แต่งานใหญ่อย่างพิธีอภิเสกสมรสที่ผ่านมา มีการแจกข้าวกล่องอาหารกลางวัน ชาวบ้านก็กรูเข้าไปแย่งข้าวกันเหมือนอย่างกับแย่งทองคำ จนถุงขาดกล่องแตกเสียไปเกินครึ่งหนึ่ง เจ้าหน้าที่เองก็ประกาศบอกให้เข้าแถว อย่างแย่งของมีพอทุกคนก็ไม่มีใครฟังจนต้องเอาไปเลี้ยงหมาเสียครึ่งนึง (ถ้าเป็นอินเดียคงมีตำรวจเอาไม้กระบองมาฟาด) เมื่อเช้าแม้ว่าจะเป็นวันดีแต่ก็มีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นมีมีการเหยียบกันจนมีคนได้รับบาดเจ็บ (มีข่าวลือว่าตายไป ๓ คน แต่เท่าที่รู้ภายหลังว่าไม่จริง) พอกลับถึงวิทยาลัยก้รู้สึกสบายใจเพราะเรื่องน่าหงุดหงิดได้จบลง