-
Thailand Tank Show 2006
เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 ไปจนเบื่อนะครับ ใครเกิดมาไม่เคยเห็นรถถัง บ้านไม่มีรถถัง ไม่เคยถ่ายรูปกะรถถังหรือทหารละก็รีบไปถ่ายๆซะนะเพราะไม่รู้จะปิดงานเมื่อไร ปล. อย่าไปขูดรถถังนะครับไม่มีเลขหรอก อาจโดนจ่าตีด้วยพานท้ายปืนได้นะ อ้อถ้าใครมีเคราะห์ให้ไปมุดรถถังสะเดาะเคราะห์ได้ดีทีเดียว (นศท หลายรายรับรอง) เห้อ ภาพที่ออกมาตามนสพ มันทำให้ทหารดูติ้งต้องไปทันที ดูๆแล้วอนาถใจอะ บางทีก็สงสารพวกเขาเหมือนกันที่ต้องมาเป็นนายแบบให้ถ่ายรูปฟรีทั้งแบบเต็มใจและไม่เต็มใจ เป็นรัฐประหารที่หน่อมแน้มที่สุดในโลก เวร…. "รู้งี้อยู่ในค่ายเหมือนเดิมดีกว่าเยอะ" จ่าแรมโบ้ Said
-
รัฐประหาร
เมื่อคืนนั่งเล่นเกมอยู่ ราวๆตี 1 พี่ข้างห้องโทรมา "เห้ย เมืองไทยทหารยึดอำนาจแล้ว รถถังเต็มเมืองเลย" เช้ด… มันแน่ๆ แต่ก็ยังเล่นเกมต่อไป สักพักพ่อก็โทรมารายงานอีกคนหุๆ ข่าวสารไวเอามากๆ รอมานานแล้วอยากให้ใครก็ได้เอามันออกไปที ทักษิณ ไอ้ทรราช ออกไป!!! พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน พระเอกของแท้ พ่อไอ้ตั้ด(ยาทิพย์)ไม่เห็นทำไรเลย พ่อติ้บ(พุกผาสุก)เด็ดมากๆ ทำไมกูมีเพื่อนร่วมรุ่นเจ๋งๆทั้งนั้นเลยวะ 555 ปล. ดูรูปที่ลงนสพแล้วรู้สึกว่ามันสวยมากๆ รถถังเท่ห์ดี มีปชช มาถ่ารูปเป็นที่ระลึกมากมาย มีคนญี่ป่นเดินเข้าไปถาม "มีงานอะไรอยู่เรอ" เหอๆ ทหารเป็นมิตรดีมากๆ ดูไม่น่าเกรงขามเลยบับผ่าสิเอ้า เสียมู้ดหมดเลย ไม่ตื่นเต้นเลย… อีกนิดรถถังนั่นจำได้เคยมุดตอนเรียน รด ปี 2 ไม่นึกว่ามันจะวิ่งได้ นึกว่ามันมีไว้ให้ นศท มุดอย่างเดียว 555
-
ชั่วโมงฝึกสอน
เหอๆ ปีหน้า (พูดเหมือนอีกนาน) ต้องออกไปฝึกสอนละเครียดชะมัดสมัยอยู่สาธิตชอบแกล้งเวลานิสิตออกมาสอน คราวนี้โดนกะตัวแล้วหัวเราะไม่ออกเลย แถมต้องสอนเป็นภาษาญี่ปุ่นอีกต่างหาก ตายละวา หัวข้อที่ได้สอนจริงๆ มันก็ไม่ยากอะนะแต่ว่ามันแปลกๆอะ คาดว่าสอนไปคงไม่มีใครฟังหรือหลับเป็นแน่แท้ หัวข้อที่สอนก็คือ OPAMPを用いる定電流回路 แปลเป็นภาษาไทยได้ว่าวงจรกระแสคงที่ที่ใช้ OPAMP อะ แล้วทำไมต้องใช้ OPAMP ละนั่นคือประเด็น ถ้าคุณรู้จัก OPAMP คุณจะรู้ว่าเจ้าสามเหลี่ยมสารพัดนึกนี้ไม่มีความสามารถในการขยายกระแสเลยสักนิด (ขยายได้แต่แรงดัน) เพราะฉะนั้นพระเอกของงานนี้คือทรานซิสเตอร์ ซึ่งลำพังทรานซิสเตอร์ตัวเดียวก็สามารถทำงานได้แล้วไม่ต้องพึ่ง OPAMP สักหน่อยแล้วทำไมต้องใช้ OPAMP ว้า งงกับไอ้คนคิดโจทย์จริงๆ ว่าแล้วก็มาดูวงจรกันเลยดีกว่า นี่คือวงจรที่ใช้ทรานซิสเตอร์ ง่ายๆแล้วก็เวิร์กมากๆ การทำงานง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยมองปร้าดเดียวก็น่าจะเข้าใจอุปกรณ์ที่กำหนดค่าแรงดันคือ D1และ R2 D1 ไม่ใช่ไดโอดธรรมดาแต่เป็นซีเนอร์ไดโอดซึ่งมีคุณสมบัติต่างจากไดโอดทั่วไปเพียงแค่ถ้ามันได้ไบอัสกลับแรงดันที่ตกคร่อมตัวมันจะเท่ากับที่กำหนดเช่นถ้ามันเขียนว่า 5.1V มันก็จะตกคร่อม 5.1V ไม่ว่าจะอัดเข้าไปกี่โวลท์แล้วแรงดันที่เหลือไปไหนละ??? ก็ R1 รับไปเต็มๆไงละ และตัว R1 นี่เองจะเป็นตัวจำกัดกระแสให้ซีเนอร์และกระแสเบส Ib ซึ่งซีเนอร์จะทนกระแสได้ไม่มากต้องระวังอย่าอัดไฟมากไปไม่งั้นพัง R2 จะไปตัวบ่งชี้กระแสที่จะไหลผ่านโหลด แรงดันที่เข้ามาขาเบสจะเท่ากับแรงดันซีเนอร์และจะตกคร่อมระหว่างขา BE ประมาณ 0.6-0.7V (คุณสมบัติของซิลิกอน ถ้าเป็นเยอรมาเนียมจะราวๆ 0.3V) เพราะฉะนั้นแรงดันที่ตกคร่อม R2 คือ 5.1-0.6=4.5V และถ้าใช้ R2=45Ω จากกฎของโอห์ม i=v/r จะได้ i=100mA ง่ายดีมั้ย วงจรนี้จะรักษากระแสที่วิ่งผ่านโหลดไว้เท่านี้ ไม่ว่าความต้านทานภายในโหลดจะลดหรือเพิ่ม แรงดันไฟเลี้ยงเปลี่ยน (อยู่ในช่วงจำกัด) แต่จะว่าไปวงจรนี้มีบั้กคือกระแสที่ผ่านโหลดจริงๆไม่ได้เป็น 100mA อย่างที่คำนวนไว้แต่ว่ามันจะลดไปเล็กน้อยเหลือประมาณ 99.5 mA เพราะว่านี่คือจุดอ่อนของทรานซิสเตอร์ เพราะมีกระแสไหลจากเบสไปอีมิตเตอร์ด้วยตามสมการ Ie=Ib+Ic กระแสที่ผ่านโหลดจริงๆคือ Ic แต่เนื่องจากค่าที่ผิดพลาดนั้นน้อยมาก จึงมั่วๆไปได้ แต่ถ้าต้องการให้กระแสแม่นยำจริงๆต้องคำนวณค่าของกระแสเบสด้วยตามสูตร Ib=Ic/hfe (ค่า hfe คืออัตราการขยายกระแสของทรานซิสเตอร์ซึ่งมีค่าประมาณ 100-250 เท่า) และเลือกใช้ทรานซิสเตอร์ที่มีค่า hfe สูงๆ จะได้ผิดพลาดน้อยลง หรือจะเปลี่ยนไปใช้เฟตเพราะเฟตไม่มีกระแสไหลเข้าเกต แถม Vgs เป็น 0 อีกต่างหากใช้ง่ายดี ตัวอย่างการคำนวณค่าจริง โดยกำหนด กระแสไฟเลี้ยงวงจร…