• Uncategorized

    กล้องใหม่

    ได้รู้ซึ้งถึงความหมายของ "คนเคยขา ม้าเคยขี่" ก็คราวนี้แหละ เอา A100 ตัวใหม่ไปถ่าย Illumination มาที่ Tokyo Dome ปัญหาแรก Over Fill Flash ไปมากๆ ขาวจั้วเลย หาฟังก์ชั่น Slow Sync มะเจอเลยต้องทนใช้โหมด Night Portrait ไปพลางๆ ผลที่ได้ ISO400 ล้วนเห้อ WB ผิดพลาด (ฟิลม์ไม่มีปัญหานี้อะ) ถ่ายวัดแสงออกมา Under นรกมาก (ถ่าย Alpha 7 ไม่เป็นนะ) โฟกัสหลุดอีกหลายรูป กว่าจะเริ่มเข้าที่เข้าทางก็เสียรูปที่น่าจะสวยไปหลายรูปทีเดียว (Back ชัดโคตร Subj เบลอ 555) เศร้า…   ที่สำคัญลืมตั้งให้มันถ่าย RAW เลยแก้ได้นิดเดียว โอ้ยเซ็ง… ยิ่งกว่าพวกมือใหม่หัดถ่ายอีก

  • Uncategorized

    กล้องๆๆ

    ตั้งแต่หมีเลิกกิจการกล้องแล้วยกให้โซหนี้ก็ไม่มีอารมณ์ซื้ออุปกรณ์ใหม่เลย แต่ช่วงๆหลังนี้มากว้านซื้อเลนส์หมีเก่าหมดไปเป็นแสนเหมือนกัน และล่าสุดก็ไปถอยโซหนี้ alpha 100 (สีส้มจี้ดจ้าดสะใจดี)มาจนได้เหอๆ ถึงไม่อยากร่วมอารยธรรมโซหนี้แต่ก็ทำไงได้เลนส์ alpha mount มีตั้งหลายตัว ย้ายค่ายเสียดายแย่ ว่าแล้วก็รวบรวมสมาชิก(รุ่นใหญ่)ถ่ายรูปหมู่สักหน่อย   สนนราคาค่าตัวมีดังนี้ Alpha 7 73000 VC7 20000 HS5600D 42000 17-35 33500 24-105 31500 50 Macro 28500 100-300 APO 45500 70-210 16000 (มือสองตัวเดียวของทีม) และ Sony Alpha 100 70000 รวมแล้ว 360000 เช้ด… ผลาญงบประมาณไปเยอะเหมือนกันแฮะ    

  • Uncategorized

    Thailand Tank Show 2006

    เริ่มตั้งแต่วันที่ 20 ไปจนเบื่อนะครับ ใครเกิดมาไม่เคยเห็นรถถัง บ้านไม่มีรถถัง ไม่เคยถ่ายรูปกะรถถังหรือทหารละก็รีบไปถ่ายๆซะนะเพราะไม่รู้จะปิดงานเมื่อไร ปล. อย่าไปขูดรถถังนะครับไม่มีเลขหรอก อาจโดนจ่าตีด้วยพานท้ายปืนได้นะ อ้อถ้าใครมีเคราะห์ให้ไปมุดรถถังสะเดาะเคราะห์ได้ดีทีเดียว (นศท หลายรายรับรอง)   เห้อ ภาพที่ออกมาตามนสพ มันทำให้ทหารดูติ้งต้องไปทันที ดูๆแล้วอนาถใจอะ บางทีก็สงสารพวกเขาเหมือนกันที่ต้องมาเป็นนายแบบให้ถ่ายรูปฟรีทั้งแบบเต็มใจและไม่เต็มใจ เป็นรัฐประหารที่หน่อมแน้มที่สุดในโลก เวร…. "รู้งี้อยู่ในค่ายเหมือนเดิมดีกว่าเยอะ" จ่าแรมโบ้ Said

  • Uncategorized

    ชั่วโมงฝึกสอน

    เหอๆ ปีหน้า (พูดเหมือนอีกนาน) ต้องออกไปฝึกสอนละเครียดชะมัดสมัยอยู่สาธิตชอบแกล้งเวลานิสิตออกมาสอน คราวนี้โดนกะตัวแล้วหัวเราะไม่ออกเลย แถมต้องสอนเป็นภาษาญี่ปุ่นอีกต่างหาก ตายละวา   หัวข้อที่ได้สอนจริงๆ มันก็ไม่ยากอะนะแต่ว่ามันแปลกๆอะ คาดว่าสอนไปคงไม่มีใครฟังหรือหลับเป็นแน่แท้ หัวข้อที่สอนก็คือ OPAMPを用いる定電流回路 แปลเป็นภาษาไทยได้ว่าวงจรกระแสคงที่ที่ใช้ OPAMP อะ แล้วทำไมต้องใช้ OPAMP ละนั่นคือประเด็น   ถ้าคุณรู้จัก OPAMP คุณจะรู้ว่าเจ้าสามเหลี่ยมสารพัดนึกนี้ไม่มีความสามารถในการขยายกระแสเลยสักนิด (ขยายได้แต่แรงดัน) เพราะฉะนั้นพระเอกของงานนี้คือทรานซิสเตอร์ ซึ่งลำพังทรานซิสเตอร์ตัวเดียวก็สามารถทำงานได้แล้วไม่ต้องพึ่ง OPAMP สักหน่อยแล้วทำไมต้องใช้ OPAMP ว้า งงกับไอ้คนคิดโจทย์จริงๆ   ว่าแล้วก็มาดูวงจรกันเลยดีกว่า นี่คือวงจรที่ใช้ทรานซิสเตอร์ ง่ายๆแล้วก็เวิร์กมากๆ การทำงานง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยมองปร้าดเดียวก็น่าจะเข้าใจอุปกรณ์ที่กำหนดค่าแรงดันคือ D1และ R2     D1 ไม่ใช่ไดโอดธรรมดาแต่เป็นซีเนอร์ไดโอดซึ่งมีคุณสมบัติต่างจากไดโอดทั่วไปเพียงแค่ถ้ามันได้ไบอัสกลับแรงดันที่ตกคร่อมตัวมันจะเท่ากับที่กำหนดเช่นถ้ามันเขียนว่า 5.1V มันก็จะตกคร่อม 5.1V ไม่ว่าจะอัดเข้าไปกี่โวลท์แล้วแรงดันที่เหลือไปไหนละ??? ก็ R1 รับไปเต็มๆไงละ และตัว R1 นี่เองจะเป็นตัวจำกัดกระแสให้ซีเนอร์และกระแสเบส Ib ซึ่งซีเนอร์จะทนกระแสได้ไม่มากต้องระวังอย่าอัดไฟมากไปไม่งั้นพัง   R2 จะไปตัวบ่งชี้กระแสที่จะไหลผ่านโหลด แรงดันที่เข้ามาขาเบสจะเท่ากับแรงดันซีเนอร์และจะตกคร่อมระหว่างขา BE ประมาณ 0.6-0.7V (คุณสมบัติของซิลิกอน ถ้าเป็นเยอรมาเนียมจะราวๆ 0.3V) เพราะฉะนั้นแรงดันที่ตกคร่อม R2 คือ 5.1-0.6=4.5V และถ้าใช้ R2=45Ω จากกฎของโอห์ม i=v/r จะได้ i=100mA ง่ายดีมั้ย วงจรนี้จะรักษากระแสที่วิ่งผ่านโหลดไว้เท่านี้ ไม่ว่าความต้านทานภายในโหลดจะลดหรือเพิ่ม แรงดันไฟเลี้ยงเปลี่ยน (อยู่ในช่วงจำกัด) แต่จะว่าไปวงจรนี้มีบั้กคือกระแสที่ผ่านโหลดจริงๆไม่ได้เป็น 100mA อย่างที่คำนวนไว้แต่ว่ามันจะลดไปเล็กน้อยเหลือประมาณ 99.5 mA เพราะว่านี่คือจุดอ่อนของทรานซิสเตอร์ เพราะมีกระแสไหลจากเบสไปอีมิตเตอร์ด้วยตามสมการ Ie=Ib+Ic กระแสที่ผ่านโหลดจริงๆคือ Ic แต่เนื่องจากค่าที่ผิดพลาดนั้นน้อยมาก จึงมั่วๆไปได้ แต่ถ้าต้องการให้กระแสแม่นยำจริงๆต้องคำนวณค่าของกระแสเบสด้วยตามสูตร Ib=Ic/hfe (ค่า hfe คืออัตราการขยายกระแสของทรานซิสเตอร์ซึ่งมีค่าประมาณ 100-250 เท่า) และเลือกใช้ทรานซิสเตอร์ที่มีค่า hfe สูงๆ จะได้ผิดพลาดน้อยลง หรือจะเปลี่ยนไปใช้เฟตเพราะเฟตไม่มีกระแสไหลเข้าเกต แถม Vgs เป็น 0 อีกต่างหากใช้ง่ายดี   ตัวอย่างการคำนวณค่าจริง โดยกำหนด กระแสไฟเลี้ยงวงจร…